6a021bf5-fe83--cr

อุดม ฉิมภักดี

จานีน ยโสวันต์

นระหว่างการจัดนิทรรศการที่นิทรรศการสีน้ำThe CMU 60th Anniversary
World Master's Watercolor Exposition จัดขึ้นระหว่างวันที่ 6-31มกราคม 2568 ที่
หอศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขึ้นในจังหวัดเชียงใหม่ ที่เป็นผลงานในโอกาสที่
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่ก่อตั้งมาครบรอบ 60 ปี  ดิฉันมีโอกาส สัมภาษณ์ อาจารย์
อุดม ฉิมภักดี รองคณบดีคณะวิจิตรศิลป์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อีกครั้ง ในตำแหน่ง
หัวหน้าโครงการ เพื่อทบทวนถึงความก้าวหน้าในความสำเร็จของกิจกรรมแรกของ
การนำเสนอความก้าวหน้าของศิลปินไทยที่ร่วมงานกับศิลปินนานาชาติเป็นเรื่องราว
ของการทำงานร่วมกันระหว่างศิลปินที่ได้รับเชิญจากประเทศไทย ร่วมถึงศิลปินรุ่น
ใหม่ที่สมัครเข้ามาแสดงฝีมือ และศิลปินรับเชิญจากต่างประเทศทั่วโลกศิลปินจาก
IWM(International Watercolour Masters) 12 ท่าน เป็นองค์กรศิลปินสีน้ำตั้งอยู่
ในประเทศอังกฤษ ศิลปินมีชื่อเสียงจากแคนาดา ศิลปินมืออาชีพจากประเทศญี่ปุน
เกาหลี ใต้หวัน จีน และประเทศมาเลเซีย ทุกท่านอยู่ในระดับมาสเตอร์ของโลกที่
มาร่วมแสดงฝีมือวาดสีน้ำในหัวข้อ "Lanna Landscape" ซึ่งเป็นเป็นโครงการศิลปะสี
น้ำครั้งแรกที่จัดโดยคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นเรื่องราวของศิลปะสี
น้ำ ซึ่งเป็นโครงการแรกที่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยว โรงเรียน และสถาบัน
ต่างๆ ที่ได้ทราบข่าว และขอมาเยี่ยมชมเป็นจำนวนมาก

การสัมภาษณ์ครั้งนี้ดิฉันต้องการให้ผู้อ่านรู้จักอาจารย์อุดม ฉิมภักดี เจ้าของ
โครงการ WMW (World Master's Watercolor Exposition) ที่จัดขึ้นครั้งแรกใน
จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย และในวันเปิดงาน เราได้ผู้อนุมัติการก่อสร้างหอศิลป์
ของมหาวิทยาลับเชียงใหม่คือ ฯพณฯ นายชวน หลีกภัย อดีตประธาน
รัฐสภาในอดีต ท่านเป็น นายกรัฐมนตรีลำดับที่ 20 เป็นนายกรัฐมนตรี 2 สมัย มาเป็น
ประธานเปิดงาน ในวันที่ 10มกราคม 2025 ท่านร่วมวาดสีน้ำขนาดใหญ่ในงาน และ
ท่านเองก็ชอบวาดรูปมาก่อน ท่านชอบวาดการ์ตูน และลายเส้นเป็นระดับปรมาจารย์  
การกลับมาเป็นประธานเปิดงานนิทรรศการครั้งนี้ ท่านกล่าวชมงาน และดูมีความสุข
มาก ในปีที่อนุมัติโครงการก็มีสถาบันอื่นอีก 4 แห่งในประเทศไทยได้จัดสร้างหอศิลป์
ด้วยเช่นกันหอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ก่อตั้งขึ้นในปี 2541
โดยมีเจตนารมณ์ที่จะให้หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม จัดตั้งขึ้นในส่วนภูมิภาค เพื่อ
เป็นศูนย์กลางของการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่นภาคเหนือ
ทั้งในด้านการจัดนิทรรศการ การแสดง จัดกิจกรรมต่างๆ

7beca6b2-3e4f-4184--cr

JY. ขอเรียนถามเกี่ยวกับตัวตนและแรงบันดาลใจของอาจารย์กับงานศิลปะใน
เชียงใหม่ที่อาจารย์ได้เข้ามาเรียนในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และกลับมาสอนใน
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่อีกครั้ง
อะไรคือแรงบันดาลใจหลักในงานศิลปะของอาจารย์?

UC. ผมเกิดที่ภาคใต้จากจังหวัด สุราษฎร์ธานี จากครอบครัวที่มีพี่น้องหลายคน
เมื่อผมเลือกเรียน ศิลปะในระดับมัธยมศึกษาทางบ้านก็ให้การสนับสนุนทั้งที่ไม่รู้ว่าจะ
จบมาเป็นอะไร ก็จะเห็นได้ว่าครอบครัวมองศักยภาพว่าผมชอบที่จะเรียนอะไร การ
เลือกเรียนระดับปริญญาตรี ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อเข้าเรียนคณะวิจิตรศิลป์ถือ
ว่าข้ามจากภาคใต้มาเชียงใหม่ที่เป็นมหาวิทยาลัยที่อยู่เหนือสุดของประเทศไทยถือ
ว่าเป็นประสบการณ์ที่ดีของชีวิตที่สุด

มีแรงบันดาลใจอยู่สองประการ ประการแรก ผมสนใจและสังเกตธรรมชาติที่อยู่รอบ ๆ
ตัว

ประการที่สอง จากวัฒนธรรม สังคม และการใช้ชีวิตของศิลปินหลายๆ คน ทั้งการใช้
ชีวิตและผลงาน ศิลปินที่มีชื่อเสียงหลายท่าน ยกตัวอย่าง อาจารย์มณเฑียร บุญมา
ได้มาสอนในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นอกเหนือจากการจัดแสดงประเพณีสงกรานต์
ประเพณียี่เป็งหรือลอยกระทง เชียงใหม่ยังมีงานการจัดวาง (Installation)อยู่เสมอ
ทุกมุมเมือง จากฝีมือนักศึกษา และทุนเล็กๆน้อยๆช่วยกัน จนเป็นที่แปลกใจของคน
เชียงใหม่และนักท่องเที่ยว

b3cb8f13-6ae0-42fe-cr

อาจารย์หลายๆท่านที่หัวก้าวหน้า และจบจากต่างประเทศได้ทำงานศิลปะเพื่อร่วม
พัฒนาเมืองก็จะมีผลงานหลากหลายที่น่าสนใจ และเพิ่มคุณค่าให้กับท้องถิ่น

อาจารย์มณเฑียร บุญมาคือครูต้นแบบที่ผมสนใจงานประติมากรรม

เป็นศิลปินร่วมสมัยชาวไทย ที่มีผลงานร่วมแสดงในนิทรรศการศิลปะและเทศกาล
ศิลปะที่โดดเด่นในระดับนานาชาติมากมายหลายแห่งในช่วงที่ยังมีชีวิตอยู่ ขอเล่า
ประวัติอย่างคร่าวๆนะครับถึงอาจารย์ของผมท่านนี้

มณเฑียร บุญมา หลังจากจบการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาจิตรกรรม จาก
มหาวิทยาลัยศิลปากรในปี 1978 มณเทียรได้เดินทางไปศึกษาต่อในสาขา
ประติมากรรมที่สถาบัน École nationale supérieure des beaux-arts และกลัมมา
ศึกษาต่อในระดับปริญญาโทที่สาขาจิตรกรรม ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร ในช่วงนี้
มณเฑียร เปลี่ยนจากการทำงานจิตรกรรมสองมิติ หันมาเขามุ่งมั่นสร้างสรรค์ผลงาน
ศิลปะหลากหลายรูปแบบ ทั้งงานจิตรกรรม ประติมากรรม สื่อผสม ศิลปะจัดวาง ที่ใช้
วัสดุธรรมดาสามัญ หรือวัสดุพื้นบ้านที่หาได้จากธรรมชาติ อย่างดิน ขี้เถ้า ฟางข้าว
และเศษวัสดุเหลือใช้ต่างๆ มาทำงานศิลปะ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากกระแสเคลื่อนไหว
ทางศิลปะอาร์เต้ โพเวร่า (Arte Povera) ในอิตาลี ที่หยิบเอาวัสดุที่ไร้คุณค่าไร้ราคา
ที่มีอยู่เกลื่อนกลาดดาษดื่นทุกหนทุกแห่ง รวมถึงเก็บตกของเก่า ของเหลือใช้ และ
ชำรุดทรุดโทรม มาทำงานศิลปะ หากแต่เขาพัฒนา ต่อยอดความคิด จนกลายเป็น
รูปแบบทางศิลปะอันโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ที่สะท้อนแนวความคิดเกี่ยวกับ
ธรรมชาติ สังคม และการรุกคืบของอุตสาหกรรม ภายใต้การพัฒนาทางเศรษฐกิจและ
สังคมของไทยหลักในช่วงทศวรรษที่ 90 ซึ่งนับเป็นงานศิลปะที่มีแนวทางก้าวล้ำ
นำหน้าในยุคสมัยนั้นเป็นอย่างมาก

แต่หลังจากที่ภรรยาของท่านป่วยด้วยโรคมะเร็ง ท่านก็หันเหเข้าสู่กระบวนการคิดและ
การตั้งคำถามเชิงพุทธปรัชญาต่อความหมายของการเกิด มีชีวิต และความตาย และ
ผสมผสานแนวคิดเกี่ยวกับสมุนไพรและสถานพยาบาลในลัทธิมหายานของอาณาจักร
เขมรโบราณเข้ากับงานศิลปะร่วมสมัย ท่านเป็นศิลปินไทยคนแรกๆ ที่ผสมผสานงาน
ศิลปะแนวทางศิลปะแบบคอนเซ็ปช่วลอาร์ตของตะวันตกเข้ากับปรัชญาตะวันออก
และพุทธศาสนาได้อย่างลุ่มลึกและลงตัว

นอกจากบทบาทการเป็นศิลปิน มณเฑียรยังมีบทบาทอันโดดเด่นในฐานะอาจารย์
สอนศิลปะที่คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้ริเริ่มแนวทางการสอนศิลปะโดย
เน้นแนวความคิดที่ชัดเจนและมีเหตุผล เปิดโอกาสให้นักศึกษาค้นคว้าเพื่อหา
แนวทางความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการสร้างสรรค์ศิลปะ

นอกจากนั้น มณเฑียรยังเป็นผู้สนับสนุนและผลักดันให้นักศึกษาและเพื่อนอาจารย์ได้
รวมตัวกันสร้างกิจกรรมทางศิลปะอย่าง "เทศกาลเชียงใหม่จัดวางสังคม" ที่มีความ
เชื่อมโยงกับชุมชนและก้าวออกจากพื้นที่หอศิลป์มาแสดงในพื้นที่สาธารณะของ
เชียงใหม่ในช่วงปี 1992-1995 จนกลายเป็นหมุดหมายสำคัญอันหนึ่งของวงการ
ศิลปะร่วมสมัยของไทยไปในที่สุด

หลังจากที่ภรรยาของท่านเสียชีวิต อาจารย์ มณเฑียรได้ย้ายไปเป็นอาจารย์ประจำและอาจารย์
พิเศษให้กับหลายมหาวิทยาลัย และมีส่วนร่วมในการสร้างบุคลากรทางศิลปะมากมาย
และสร้างสรรค์ผลงานอันเป็นแรงบันดาลใจสำคัญให้กับคนในวงการศิลปะอย่างสูงใน
เวลาต่อมา

ตลอดระยะเวลากว่า 20 ปีในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ อาจารย์ มณเฑียร บุญมา อุทิศ แรงกายแรงใจให้กับการทำงานศิลปะและตระเวนแสดงงานศิลปะทั้งในและ
ต่างประเทศมากมาย แม้กระทั่งในยามที่ป่วยหนักและร่างกายไม่เอื้ออำนวยท่านก็
ยังคงมุ่งสร้างผลงานศิลปะจวบจนวาระสุดท้ายของชีวิต อาจารย์ มณเฑียร บุญมา จากโลกนี้ไปในวันที่ 17 สิงหาคม 2000 ด้วยวัยเพียง 47 ปี นับเป็นความสูญเสียอย่างยิ่งของ วงการศิลปะร่วมสมัยของไทยและสากล

7cc6b44b-1bee-40cb-cr

JY. อาจารย์เริ่มต้นเส้นทางการเป็นศิลปินได้อย่างไร?

UC. เริ่มจากปี 2532 ผมมาเรียนที่คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีโอกาส
เสวนากับศิลปิน ครูบาอาจารย์ ผมศึกษาเรื่องประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันออก ตะวันตก
และศิลปะร่วมสมัย ทำให้มีความคิดรื่องการเป็นศิลปินเป็นเส้นทางอุดมคติที่น่าสนใจ
การทำงานศิลปะมีความสุขและถ่ายทอดพลังงานความสุขให้กับคนอื่นได้ ศิลปะ
สามารถทดลอง สร้างนวัตกรรมใหม่ๆได้

7e87c1eb-44f2-443-cr

JY. มีศิลปินหรือผลงานใดที่คุณชื่นชม และส่งผลต่อแนวคิดของคุณ?

UC. ผลงานเก้าอี้และแว๊กซ์, Fat Chair, 1964-1985 ของโจเซฟ บอยท์ Joseph
Beuys ศิลปินชาวเยอรมัน นักคิดผู้ทรงอิทธิพลของโลก

ผลงานชุด

Venus of Bangkok  ของมณเฑียร บุญมา

ซึ่งเป็นผลงานศิลปะจัดวาง (Installation Art) ที่นำการยกย่องเทพี Venus ตามคติ
นิยมตะวันตก แต่ประชดประชันกลับค่ามาเป็นการยกย่องวีรสตรีกรรมกรหญิงที่ทำงาน
หนักเพื่อสร้างที่พักอาศัยให้คนเมือง โดยใช้วัสดุง่ายๆ แทนความหมาย เช่น ถังปูน
แผ่นโลหะที่ทิ้งในงานก่อสร้าง ลังไม้เป็นต้น

เมื่อเรียนจบจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผมได้รับคำแนะนำจากอาจารย์มณเฑียร
บุญมาอีกครั้งเป็นคำสั้นๆ ว่าให้เรียนต่อปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยศิลปากร  เวลานั้น
Port Follio ของผมก็มีงานพร้อมภาพถ่าย มากมายที่พร้อมจะเข้าเรียนต่อที
มหาวิทยาลัยศิลปากร จากการที่ได้ร่วมทำงาน หลายๆชิ้นที่ผ่านมา และได้รับ
ปริญญาศิลปมหาบัณฑิต ภาควิชาประติมากรรม คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพ
พิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 

เป็นการเตรียมพร้อมที่จะได้มาทำงานการสอนในคณะวิจิตรศิลป์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มาจนปัจจุบัน

คำถามเกี่ยวกับกระบวนการทำงาน

84fc9194-ff05-4b5d-cr

JY. อาจารย์มีกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานอย่างไร ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ

UC. ผมกลับมาสนใจการวาดสีน้ำจากการเดินทางไปอเมริกา ในโครงการของ
Young Artist Talent โครงการนี้สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) กระทรวง
วัฒนธรรม  ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ผนึกกำลังสภาศิลปกรรม
ไทยสหรัฐอเมริกา ที่มี ดร.กมล ทัศนาญชลี ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ ที่ได้รับ
การขนานนามว่า "ศิลปินสองซีกโลก" นำคณะศิลปินรุ่นใหม่เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์
ต่างๆ พร้อมบรรยายให้ความรู้ด้านศิลปะ ให้เดินทางมาต่อยอดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ
ขั้นสูงและศึกษาดูงานด้านศิลปะที่สหรัฐ " ศิลปินรุ่นใหม่กระตือรือร้นดูงานพิพิธภัณฑ์
ได้สัมผัสผลงานศิลปะของศิลปินระดับโลกด้วยตาตัวเอง  และได้รับองค์ความรู้ด้าน
ศิลปะจาก ดร.กมล ทัศนาญชลี นำไปปรับประยุกต์ใช้ ระหว่างทางจัดกิจกรรมเวิร์ค
ช็อปศิลปะในแหล่งธรรมชาติและพื้นที่ Los Angeles  Memorial Coliseum เมือง
โอลิมปิคในอนาคต ภายในโคลีเซียมมีสถาปัตยกรรม ประติมากรรมโดดเด่น  ทำให้
ผมกลับมาสนใจการวาดภาพสีน้ำอีกครั้ง
ได้รับประสบการณ์ชีวิตและเกิดแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานบนเส้นทาง
ศิลปะ เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาศักยภาพศิลปินรุ่นใหม่ และนำไปปรับปรุงแนว
ทางการฝึกอบรมของโครงการเพื่อให้เยาวชนได้รับการพัฒนาทั้งเชิงวิชาการและเชิง
ปฏิบัติการให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด ซึ่งโครงการนี้ก็ยังคงดำเนินงาน
อยู่ ได้พำนักที่บ้านของอาจารย์ กมล โดยคุณนวลศรี ทัศนาญชลี ภรรยาของท่าน
ทำอาหารไทยให้รับประทานทุกวัน

udomdl-cr

JY. อาจารย์ จัดการกับความท้าทายในกระบวนการสร้างสรรค์อย่างไร?

UC. ผมเดินทางไปร่วมงานกับหลายประเทศ ยกตัวอย่างเช่นที่
Cornelia, Croatia 2009

Into the Inside :

Nakanojo Biennale  Japan 2015

The Goose with 5 Eggs 2024 Chengdu, China

Special lecturer abroad:

2023 "Okinawa Prefectural University of Arts undergraduate and graduate
students the 34rd graduate exhibition" and "sculpture seminar"

Okinawa Prefectural University of Arts sculpture

JY. มีผลงานชิ้นใดที่อาจารย์ภูมิใจมากที่สุด และเพราะเหตุใด?

UC. ผมภูมิใจทุกงานที่ได้ร่วมทำและร่วมแสดงงาน ตลอดจนผลงานที่ได้รับรางวัล

Year Prizes and Awards Location:

2010 Daiko Foundation Research and Study Program (5 months) Japan

2006 Silpa Bhirasri Prize, Award Winner and Art Exhibition       Silpakorn
University Gallery

2005 Simon Prize Visiting Artist, Workshop and Solo ExhibitionAustralian
National University Canberra, Australia

1998 Second Prize, 44th National Art Exhibition Top Award Winner, Thai
Farmers Bank,    National Gallery, Bangkok, Thailand Thai Farmers Bank
Gallery,Contemporary Art – Exhibition   Bangkok, Thailand

1997 Top Award Winner, Toshiba Art Exhibition       National Gallery,
Bangkok, Thailand

1995 Top Award Winner, SVOA Art Exhibition  Bangkok, Thailand

1994 Award Winner, Toshiba Bring the Good Things to Life Exhibition
Silpakorn University Gallery, Bangkok, Thailand

1993 Third Prize, 37th National Art ExhibitionNational Gallery, Bangkok,
Thailand

อุดม ฉิมภักดี เป็นเจ้าของ Makok Art Space 445 หมู่ 7 ตำบลน้ำแพร่ อำเภอหางดง
เชียงใหม่ ประเทศไทย

c696605d-4bbd-47f8-a-cr

ส่ง
อีเมล์
หน้านี้

 

การเลือกรูปภาพและข้อความ
Danin Adler

จานีน ยโสวันต์ เป็นนักเขียน
เธออาศัยอยู่ในเชียงใหม่ประเทศไทย
สำหรับบทความและบทวิจารณ์อื่นๆ ของ จานีน ยโสวันต์
กรุณาตรวจดู
 แฟ้มเก็บข้อมูล

Click Here for this article in English
                    
©2025 Janine Yasovant 
                    
©2025 Publication Scene4 Magazine

 

inSight

February 2025

 

  Sections Cover · This Issue · inFocus · inView · inSight · Perspectives · Special Issues
  Columns Adler · Alenier · Alpaugh · Bettencourt · Jones · Luce · Marcott · Walsh 
  Information Masthead · Your Support · Prior Issues · Submissions · Archives · Books
  Connections Contact Us · Comments · Subscribe · Advertising · Privacy · Terms · Letters

|  Search This Issue | Search Archives | Share Page |

Scene4 (ISSN 1932-3603), published monthly by Scene4 Magazine
of Arts and Culture. Copyright © 2000-2025 Aviar-Dka Ltd

February 2025

Thai Airways at Scene4 Magazine
fuji